โรคราแป้ง (Powdery mildew)

โรคราแป้ง เป็นโรคที่สำคัญพบได้ทั่วไป รากลุ่มนี้สามารถพัฒนาและก่อให้เกิดโรคได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง (arid หรือ semi) ราแป้งขาวจัดอยู่ในวงค์ Erysiphaceae ทถกสายพันธุ์เป็น obligate parasite เส้นใยจะเจริญอยู่บนผิวพืชและยึดติดอยู่บนพืชด้วย haustoium ซึ่งเจริญผ่านเข้าไปใน epidermal cell ของพืชเพื่อดูดเอาธาตุอาหารต่างๆ haustoium อาจมีลักษณะโครงสร้างโป่งพองขึ้นอย่างง่ายๆ หรือมีการแตกแขนงมากมาย การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เส้นใยสีขาวจะสร้าง conidiophore ลักษณะยาว ตั้งตรงใส จากนั้นจะสร้าง conidia ต่อกันเป็นลูกโซ่ conidia ใส เซลล์เดียวรูปร่างแบบไข่ (oval) หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีมุมผนังบาง อาจเรียก conidia ของราแป้งว่า oidium

โรคราแป้งในต้นกุหลาบ

โรคราแป้งของกุหลาบ เป็นอีกโรคหนึ่งที่ชาวสวนพบเห็นเป็นประจำและเป็นอุปสรรคสำคัญของการผลิตดอกุหลาบคุณภาพ
โรคนี้เกิดจากราชั้นสูง ที่มีชื่อว่า ออยเดียม สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นกุหลาบตั้งแต่ใบอ่อน ก้านดอก ก้านใบ กลีบดอก กิ่งอ่อน ตลอดจนเกสรของดอกกุหลาบ

อาการเริ่มแรก เราจะเห็นส่วนอ่อนๆ ของกุหลาบ เช่นใบบนอ่อนหรือกลีบดอกเป็นจุดสีแดง ไม่มีขอบ ต่อมาจะพบกลุ่มเส้นใยบางๆ สีขาวและสปอร์ละเอียดคล้ายผงแป้งบนบริเวณนั้นภายในเวลาเพียง 5 วัน ซึ่งนับว่าเร็วมาก เมื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของโรคบนพืชอื่น ผงแป้งหรือราแป้งนี้จะกระจายเป็นหย่อมๆ ทั่วบนใบอ่อน กิ่งอ่อน กลีบดอก ดอกตูม ทำให้เกิดอาการบิดเบี้ยว เสียรูปร่าง ดอกเปลี่ยนสี ดอกไม่บาน กลีบดอกเป็นสีน้ำตาลแดง ใบเหลือง แห้งกรอบและร่วง
ราออยเดียม ชอบอากาศเย็นโดยอุณหภูมิช่วงกลางคืนที่ 15.5 องศาเซลเซียล และ 26.7 องศาเซลเซียล ในเวลากลางวันที่มีความชื้นสูง ประมาณ 90-99 เปอร์เซ็นต์ เช่น วันที่หมอกลงจัดหรือมีฝนตกพรำๆ หรือในฤดูหนาวที่มีน้ำค้างอยู่บนใบนานเกิน 2-3 ชั่วโมง สปอร์ของราที่ปลิวมาตามลม อาจจะจากใบล่างหรือจากต้นข้างเคียงหรือจากแปลงข้างเคียงก็ได้ เมื่อสปอร์ตกลงบนใบที่ชื้นพอจะงอกเส้นใยแทงทะลุผิวไปได้โดยตรงและเจริญอยู่ใต้ผิวใบพร้อมที่จะสร้างเส้นใยชูขึ้นมากลายเป็นสปอร์ได้ในเวลาอันสั้น คือประมาณ 48 ชั่วโมง ซึ่งโรคพืชชนิดอื่นอาจใช้เวลา 5-7 วัน หรือนานกว่านั้น จึงจะแสดงอาการเมื่อราผลิตสปอร์บนต้นจึงสามารถทำให้เกิดโรคได้วนเวียนกลับขึ้นไปยังส่วนที่งอกใหม่ซ้ำๆ ได้ อีกหลายรอบในแต่ละฤดู โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม

การกำจัดและป้องกัน
– การตัดแต่งให้โปร่ง เป็นการลดแหล่งระบาดโรคและช่วยให้อากาศถ่ายเทไม่อับชื้น การปลูกแนวขวางตะวัน จะทำให้แสงแดดส่องถึงได้ทั่วแปลง เป็นการลดความชื้น เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้วควรทำลายกิ่งก้านที่เป็นโรคให้พ้นจากแปลงปลูก
– การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช ควรปฏิบัติตั้งแต่ระยะหลังจากการตัดแต่งกิ่งและเมื่อเริ่มแทงยอดใหม่ จากนั้นพ่นอย่างสม่ำเสมอทุก 7-10 วัน หากพบการระบาด ควรพ่นให้บ่อยครั้งขึ้น
– สารป้องกันกำจัดโรคพืช ที่ใช้ได้ดีมักมีส่วนประกอบของกำมะถัน ได้แก่ กำมะถันชนิดผงหรือชนิดน้ำ, คอปเปอร์ ซัลเฟต, ไทโอฟาเนต เมททิล, ไทแรม หรือกลุ่มสาร ไทอะโซล เป็นต้น

ตัวอย่างราแป้งในกุหลาบ

โรคราแป้งในสตรเบอร์รี่

ตัวอย่างราแป้งในสตรอเบอรี่

โรคราแป้งเป็นหนึ่งในโรคที่ไม่พึ่งประสงค์ที่สุดของสตรอเบอร์รี่คือโรคราแป้งซึ่งสามารถพัฒนาในวัฒนธรรมเบอรี่ในเกือบทุกสภาพอากาและง่ายต่อการต่อสู้กับโรคนี้ด้วยมาตราการป้องกันกว่าที่จะกำจัดผลกระทบในอนาคต
แหล่งที่มาของโรคเป็นเชื้อราที่มีผลต่อส่วนต่างๆ ของพืชผลเบอร์รี่ : ใบ peduncles, ดอกไม้, รังไข่, หนวด, ผลเบอร์รี่ – ทั้งสีเขียวและสุก โรคนี้ปรากฏตัวในรูปแบบของใยแมงมุมสีขาวละเอียดอ่อนบนใบไม้ด้านล่างและก้านใบ ส่วนใหญ่มักจะดูเหมือนว่าจุดเล็กๆ แยกจากกัน ค่อยๆ รวมตัวกันและก่อตัวเป็นจุดแป้งที่ต่อเนื่องและอุดมสมบูรณ์ แต่ด้วยความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อพืชจึงสามารถปรากฏขึ้นในรูปแบบของคราบจุลินทรีย์ต่อเนื่องได้ทันที

ใบของพืชที่เป็นโรคหยุดการเจริญเติบโตขอบของมันเหี่ยวย่นและเริ่มขดตัวเข้าด้านใน พลิกด้านที่ผิดบนรังไข่ดอกตูมและดอกไม้โรคราแป้งเป็นความแตกต่างแทบจะไม่ต่างกัน แต่การพัฒนาของเชื้อราในระหว่างการออกดอกทำให้เกิดการผสมเกสรที่ผิดปกติและขัดขวางการปฏิสนธิของสตรอเบอร์รี่เป็นผลให้ผลเบอร์รี่จะด้วยพัฒนารูปทรงน่าเกลียด ผลไม้สีเขียวที่ติดเชื้อไม่พัฒนาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งในที่สุด แต่ผลเบอร์รี่สุกที่มีความพ่ายแพ้อย่างรุนแรงของโรคจะปกคลุมไปด้วยคราบแป้งสีขาวอย่างต่อเนื่อง (ดูเหมือนแป้งจะเป็นแป้ง) พวกเขาแตกสลายเน่ากลิ่นของเชื้อราและได้รับสีเทา

โรคราแป้งในต้นแตง

ราแป้งขาวเป็นโรคที่ระบาดแพร่หลายมากที่สุดโรคหนึ่ง จะพบได้ในทุกท้องถิ่นที่มีการปลูกแตงและเกือบทุกสภาพอากาศ ผิดกับโรคราน้ำค้างคือต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่าและความชื้นเพียงเล็กน้อยในระดับปกติก็เกิดและเจริญเติบโตสร้างความเสียหายได้

อาการโรค
เชื้อราจะเข้าทำลายและเจริญเติบโตได้บนทุกส่วนของต้นแตงที่อยู่เหนือดินโดยจะเกิดอาการเป็นผงหรือฝุ่นแป้งสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไปตรงจุดที่เกิดโรค ในระยะเนื้อเยื่อตรงที่เกิดอาการขึ้นนี้จะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ จนกระทั่งเป็นมาก เชื้อราขึ้นคลุมไปหมด สีของต้นเถาหรือใบจะค่อยๆ ซีดเหลืองแล้วแห้งในเวลาต่อมา โดยเฉพาะถ้าเป็นส่วนที่ยังอ่อนอยู่อาจจะตายได้ สำหรับลูกหรือผลแตงอาการโรคจะเกิดขึ้นน้อยกว่าบนต้นและใบนอกจากพวกที่ติดโรคง่าย เช่น แตงโม แคนตาลูปและแตงร้าน ในรายที่เกิดรุนแรงและสิ่งแวดล้อมเหมาะสม ก็จะเกิดโรคขึ้นที่ลูกได้เช่นกันและอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้ ถ้าเป็นในระยะที่ลูกยังเล็กหรืออ่อนอยู่โดยจะทำให้เกิดอาการแกร็น บิดเบี้ยว เสียรูปทรงผิวขรุขระ เป็นตุ่มหรือแผลขึ้นที่เปลือก ส่วนในลูกที่เจริญเติบโตเต็มที่ เมื่อเป็นโรคก็จะทำให้เกิดความไม่น่าดู ขายไม่ได้ราคา

สาเหตุโรค : Erysiphe cichoracearum แล: Sphaerotheca fuliginea
เชื้อสาเหตุโรคราแป้งขาวของแตงมีอยู่ด้วยกันถึง 2 ชนิด นอกจากแตงแล้วพบว่าเชื้อสองชนิดนี้ยังเข้าทำลายพืชผักอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด สำหรับที่พบบนแตงนั้น เป็น race หนึ่งเฉพาะ ความแตกต่างระหว่าง Erysiphe และ Sphaerotheca คือ Erysiphe มีสีของสปอร์และเส้นใยที่ค่อนข้างขาว cleistothecium ที่เกิดจากการผสมทางเพศ ภายในจะมีถุงบรรจุสปอร์ (ascus) หลายอัน ส่วน Sphaerotheca เส้นใยและสปอร์มีสีออกนํ้าตาลอ่อนๆ และภายใน cleisto thecium ที่เกิดจากการผสมทางเพศจะมีถุงบรรจุสปอร์เพียง 1 อัน

ในการเข้าทำลายพืชของราพวกนี้ เกิดขึ้นหลังจากสปอร์ หรือโคนีเดียตกลงบนพืช ได้รับสิ่งแวดล้อมเหมาะสมก็จะงอกออกมาเป็นเส้นใยเจริญอยู่บนผิวพืชเส้นใย ดังกล่าวจะส่งเฉพาะส่วนที่เรียกว่า haustoria ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆ รากเข้าไปดูดอาหารจากเซลล์พืชที่อยู่ใต้ชั้น epidermis เมื่อแก่ก็จะสร้างโคนีเดีย ลักษณะรูปไข่เกาะติดกันเป็นสายบนก้าน coniophores ขึ้นเป็นจำนวนมากบนผิวพืชที่เชื้อเจริญอยู่ ทำให้เห็นเป็นกลุ่มหรือผงสีขาวดังกล่าว โคนีเดียพวกนี้จะหลุดจากก้านปลิวตามลมไปได้เป็นระยะทางไกล เพราะมีขนาดเล็กและนํ้าหนักเบา นอกจากนั้นก็อาจถูกนำพาไปโดยแมลง เครื่องมือกสิกรรม เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและตัวกสิกรเองทำให้ระบาดแพร่กระจายออกไปได้กว้างขวางขึ้น

การอยู่ข้ามฤดูของเชื้อส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่กับวัชพืช หรือพืชถาวรบางชนิดในตระกูลแตงด้วยกัน เนื่องจากเป็น obligate parasite จึงไม่สามารถอาศัยกินอยู่กับเศษซากพืชที่ตายแล้วได้ นอกจากนั้นก็อาจอยู่ในลักษณะของ sexaul spore คือ cleistothecium แต่ก็พบว่ามีการสร้างไม่บ่อยนัก

ระยะฟักตัวของเชื้อหลังจากสปอร์งอกส่ง haustoria เข้าไปดูดกินอาหารจากพืชจนเกิดอาการแล้วสร้างโคนีเดียขึ้นได้ใหม่ กินเวลานานราว 3-7 วัน หรือนานกว่าเล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมขณะนั้น

สำหรับความรุนแรงของโรคนอกจากสิ่งแวดล้อมแล้วยังขึ้นอยู่กับอายุของพืชเป็นสำคัญ ใบพืชอ่อนที่เพิ่งเริ่มคลี่จะมีความต้านทานโรคได้ดีกว่าใบแก่ ราพวกนี้ไม่ต้องการความชื้นสูงนักในการเข้าทำลายพืช แม้ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ 50% ก็ยังระบาดได้ ในการงอกหรือการเจริญเติบโตไม่ต้องการนํ้าหรือหยดน้ำเคลือบใบพืชเลย ส่วนอุณหภูมิทั้งในการเจริญเติบโตและการทำให้เกิดโรคอยู่ระหว่าง 32.2 ∘ซ. แต่จะดีที่สุดที่ 27 – 28 ∘ซ.

การป้องกันกำจัด
1. กำจัดวัชพืชหรือพวกพืชถาวรในตระกูลแตงในบริเวณแปลงปลูกให้หมด
2. เมื่อปรากฏมีโรคเกิดขึ้นให้ใช้สารเคมีต่อไปนี้
ก. คาราเทน (karathane) หรือมิลเด็กซ์ (mildex) ใช้ได้ดีกับแตงไทยและแตงแคนทาลูปโดยเฉพาะกับเชื้อ Sphaerotheca โดยใช้สารเคมีดังกล่าว 125 – 180 กรัมละลายนํ้า 1 ปี๊บ ฉีดทุก 3 – 5 วัน
ข. โอวาแทรน (ovatran) ปกติสารเคมีนี้ใช้ป้องกันกำจัดพวกไรหรือแมงมุมแดง แต่ก็ปรากฏว่าใช้ได้ผลดีในการป้องกันกำจัดโรคราแป้งขาวบนแตงโดยเฉพาะแตงกวา และแตงร้าน
ค. คูปราวิทหรือค็อปปิไซด์ในอัตราส่วน 30-40 กรัมต่อน้ำ 1 ปี๊บทุกๆ 7 – 10 วัน
ง. เบนเลทในอัตราส่วน 125 – 180 กรัม ต่อนํ้า 1 ปี๊บ ทุก 2 อาทิตย์
3. เลือกปลูกแตงโดยใช้พันธ์ที่มีความต้านทานต่อโรค

โรคราแป้งในองุ่น

ลักษณะอาการ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Oidium tuckeri เป็นโรคที่ระบาดรุนแรงอีกโรคหนึ่งหรือเรียกว่า “ โรคขี้เถ้า” มักระบาดมากในช่วงอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง คือ หลังฤดูฝน และในฤดูหนาว เท่านั้น จะเข้าทำลายทุกส่วนของต้นองุ่นที่เห็นได้ชัดคือด้านบนของใบจะเห็นเป็นหย่อมๆ หรือทั่วไปบนใบ ต่อมาผงสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเทาและดำ บริเวณใบที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายจะมีสีเหลืองอ่อนในระยะแรก ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ ถ้าเป็นโรคมากๆ ใบจะมีอาการม้วนงอได้ ถ้าเชื้อราทำลายในขณะที่ยังเป็นดอกจะเหี่ยวแห้งติดกับกิ่ง ทั้งผลอ่อนจนถึงผลแก่ จะเห็นผลขาวบนผลต่อมาเนื้อผิวของผลที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลบางครั้งผลจะแตกจนเห็นเมล็ด อาการที่กิ่งอ่อน จะทำให้กิ่งแห้งตายไปหรือแคระแกร็นไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรการแพร่ระบาด
เชื้อราพักตัวที่บริเวณตาองุ่นในสภาพเส้นใย จะเจริญและสร้างสปอร์บนยอดที่แตกใหม่ แล้วแพร่ระบาดทำลายส่วนอื่นๆ ทางลมในสภาพอากาศที่แห้งแล้งและเย็น มีแสงแดดน้อย เชื้อราจะอยู่ข้ามฤดูหนาวในสภาพ ascospore พักตัวในcleistothecium เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิก็จะแพร่ระบาดเข้าทำลายองุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 20- 27 องศาเซลเซียส หากมีฝนตกมากการระบาดของโรคก็จะลดลง ด้วยการสร้างสปอร์ที่เป็นระยะคอดิเนียมเป็นจำนวนมากเข้าทำลายทุกส่วนของพืชที่มีสีเขียว
การป้องกันกำจัด
1. ตัดกิ่ง ใบหรือผลที่เป็นโรคเผาทำลายเพื่อมิให้เชื้อโรคแพร่ขยายไปยังส่วนอื่น
2. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัด เช่น บีโนมิล อัตรา 5-15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ แคปแทน 48 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือใช้ บาซิลัส ทับซิลิส (ไบออนแบค)ใช้อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน ควรพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็น เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิต แสงแดดจะทำให้เชื้อลดประสิทธิภาพลง

โรคราแป้งในมะเขือเทศ

ลักษณะอาการ
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา Oidiopsis sp. อาการที่มองเห็นด้านบนใบจะปรากฏเป็นจุดสีเหลือง จุดเหลืองนี้จะขยายออกและจำนวนจุดบนใบจะมีมากขึ้น เมื่อโรคระบาดรุนแรงขึ้น จนบางครั้งมองเห็นเป็นปื้นสีเหลืองด้านบนใบ ตรงกลางปื้นเหลืองนี้อาจจะมีสีน้ำตาล ต่อมาใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทางด้านใต้ใบ ตรงบริเวณที่แสดงอาการปื้นเหลือง จะมีผงละเอียดคล้ายผงแป้งเกาะอยู่บาง ๆ มองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลือง จากส่วนล่างของต้นไปยังส่วนบนและใบที่เหลืองนี้จะร่วงหลุดไป ในสภาพอากาศเย็นบางครั้งจะพบผงสีขาวเกิดขึ้นบนใบได้ และลุกลามไปเกิดที่กิ่งได้
การแพร่ระบาด โรคนี้มักพบในระยะเก็บผลผลิต ทำให้ต้นโทรมเร็วกว่าปกติ
การป้องกันกำจัด
1.ลดความชื้นบริเวณโคนต้นหรือในทรงพุ่ม โดยการตัดแต่งกิ่ง
2.กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุ เช่น น้ำนมราชสีห์ และหญ้ายาง
3.เมื่อพบโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น กำมะถันผง ไดโนแคป หรือ บาซิลัส ทับซิลิส (ไบออนแบค) ใช้อัตรา 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของโรค และพ่นซ้ำทุก 7 วัน ควรพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือเวลาเย็น เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิต แสงแดดจะทำให้เชื้อลดประสิทธิภาพลง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *