ฝนมาแล้ว พึงระวังโรคพืช 5 โรค

ามฝนตกในทุกช่วงของปี จะนำพาความชุ่มฉ่ำมาด้วย แต่ยังหนีไม่พ้นโรคพืชที่หน้าปวดหัว เมื่อสายฝน นำเชื้อราต่างๆ มาอีกด้วย เกษตรกร ผู้ปลูกผักควรวางแผนการจัดการ การป้องกันให้ดี เพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพ เชื้อราเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคพืชมากที่สุด หากฝนตกติดต่อกันเกินกว่า 2-3 วัน ต้นไม้เป็นเชื้อราได้ง่ายและมีการระบาดได้อย่างรวดเร็วเพราะสปอร์เชื้อราสามารถกระจายไปกับน้ำฝนและลม หรือสิ่งมีชีวิตเป็นตัวนำพาเชื้อราไปสู่ต้นไม้ได้ เชื้อราบางชนิดสามารถพักตัวเป็นเวลานานเป็นปี โดย เชื้อรา มีความสามารถในการเข้าไปทำลายพืชทั้งทางแผลช่องเปิดธรรมชาติหรือเข้าทำลายเยื้อพืชได้โดยตรง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อรา

1. โรคราน้ำค้าง

ราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อรา Peronospora paraitica
ลักษณะอาการ : ใบจะเป็นจุดละเอียดสีดำอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ด้านใต้ใบ จุดเหล่านี้จะมีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้ายผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วไป มีแผลเกิดก่อนแล้วลุกลามขึ้นไปยังใบที่อยู่สูงกว่า ใบที่มี เชื้อรา ขึ้นเป็นกลุ่มกระจายเต็มใบจะมีลักษณะเหลืองและใบจะร่วงหรือแห้ง
การระบาด : ระบาดได้ตั้งแต่ระยะที่เป็นต้นกล้าจนเจริญเติบโตเต็มที่ สร้างความเสียหายมากเพราะทำให้ใบเสีย เจริญเติบโตช้า ทำให้น้ำหนักลดลง เพราะต้องตัดใบที่เป็นโรคทิ้ง
การป้องกันกำจัด : ให้ฉีดพ่นด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดเชื้อรา ดังนี้

2. โรคเน่าคอดิน (Damping off)

ลักษณะอาการของโรคเชื้อรา
เชื้อราจะเข้าทำลายพืชในระยะต้นกล้า ทำให้ลำต้นเน่าและตายลงอย่างรวดเร็ว เส้นใยของราที่เป็นสาเหตุจะแพร่กระจายอยู่ในดินและเข้าสู่ต้นกล้าโดยแทงเข้าไปในเซลล์ผิว

อาการต้นกล้าเน่า
อาการทั่วไปในแปลงจะพบว่า ต้นกล้าฟุบตายเป็นหย่อมๆ เมื่อนำมาพิจารณาดูที่ต้นจะเห็นว่าบริเวณโคนต้นจะมีลักษณะแผลซ้ำ เหี่ยวแฟบ คอรวงเป็นสีน้ำตาลดำและเน่า เป็นเหตุทำให้ต้นกล้าหักพับลง พบกับกล้าพืชแทบทุกชนิดในแปลงที่มีกล้าแน่นเกินไปและความชื้นสุง สาเหตุเนื่องจากเชื้อราอาการต่างๆ ของโรคดังกล่าวมาแล้ว จะเกิดได้รุนแรงขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับพืช ชนิดและปริมาณของเชื้อโรค และสภาพแวดล้อม เชื้อโรคแต่ละชนิดต้องการสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เช่น โรคเน่าคอดิน โรครากเน่าจะเกิดรุนแรงเมื่อความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำไม่ดี โรคเน่าเละของผักระบาด เมื่อความชื้นสูงและอากาศร้อน โรคราแป้งขาวเป็นได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งในขณะที่โรคราน้ำค้างเป็นโรคได้ดีและระบาดมาก เมื่อมีความชื้นสูงและฝนชุก โรคใบจุด(ตากบ) ของยาสูบพบว่าในแปลงที่มีปุ๋ยไนโตรเจนสูง ทำให้เกิดโรคมาก โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อราจะเป็นโรครุนแรงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ปลูกและอัตราส่วนปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียมที่ให้สรุปได้ว่า เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อจะเจริญได้ดีมีการเพิ่มปริมาณจำนวนมากและเข้าทำลายพืชได้ง่าย โดยอาจเข้าทำลายโดยตรง เช่น เชื้อราหรืออาจเข้าทางบาดแผลและทางรูเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบในสภาพที่พอเหมาะเชื้อจะเข้าไปเจริญและขยายพันธุ์ในส่วนต่างๆ ของพืช และแสดงอาการโรคให้เห็น ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่เชื้อมีจำนวนมาก พร้อมที่จะแพร่ระบาดขยายขอบเขตของการเกิดโรคออกไป โดยมีลมหรือน้ำพัดพาติดไปกับส่วนขยายพันธุ์ หรือเมล็ดพันธุ์ แมลงและสัตว์บางชนิดพาไป ติดไปกับเครื่องมือหรือวัสดุการเกษตร เช่น มีด จอบ เสียม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือบางทีมนุษย์ก็เป็นผู้นำโรคแพร่ระบาดเสียเองและสามารถแพร่ระบาดได้ไกลข้ามประเทศ โดยการนำหรือแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชที่มีโรคติดอยู่ เป็นต้น

อาการโรคเน่าคอดิน แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ
1. ราเข้าทำลายเมล็ดหรือต้นกล้า ก่อนที่จะงอกพ้นดิน ทำให้เมล็ดไม่งอกหรือรากต้นอ่อน ถูกทำลายทันที ทำให้ไม่มีใบเลี้ยงออกมา
2. ต้นกล้าเป็นโรคเมื่อโผล่พ้นดินแล้ว ถ้าเข้าทำลายส่วนล่างหรือส่วนราก โดยราจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเนื้อเยื่อพืชโดยเฉพาะราก ทำให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้นและหักล้มก่อนจะแสดงอาการเหี่ยว โดยส่วนติดผิวดินจะเน่าในขณะที่ส่วนอื่นยังเต่งอยู่ แต่ถ้าเชื้อราเข้าทำลายส่วนบนหรือส่วนใบเลี้ยง ซึ่งจะพบไม่บ่อยนัก จะพบเมื่อต้นกล้าอยู่กันอย่างหนาแน่นภายหลังจากระยะที่มีฝนตก

การป้องกันกำจัดมีวิธีการป้องกันกำจัดอยู่หลายวิธี
1. คลุกเมล็ดด้วยสารเคมีที่ฆ่าเชื้อรา (fungicide) ช่วยป้องกัน hypocotyls และ radicle ที่งอกมาให้มีความต้านทานต่อรา ที่นิยมใช้คือ captan, dichlone และ thiram
2. ใช้สารเคมีพ่นต้นกล้าในระยะที่ปลูกใหม่ เช่น ziram, chloranil, captan, soluble coppers ถ้าดินมีเชื้อมากและมีความชื้นสูง
3. ปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดความรุนแรงของเชื้อโรคโดย
3.1 เพาะเมล็ดในระดับตื้น ลึกจากผิวดิน 1/4 นิ้ว งดให้น้ำตอนเช้าเพื่อให้การระเหยน้ำเร็วขึ้น จัดการระบายน้ำ ในแปลงเพาะให้ดี
3.2 กำหนดความหนาแน่นของกล้าในแปลงเพาะให้เหมาะสม
3.3 กำจัดวัชพืชในแปลงเพาะ
3.4 ไม่ควรให้ร่มเงามากเกิน 50 เปอร์เซ็นต์
3.5 ใช้ปุ๋ยที่มีระดับของไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียม สมดุลเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ลำต้น โดยอัตราที่เหมาะสมคือ nitrogen : phosphorus : potassium = 1:2:1
3.6 ใช้ดินที่เป็นกรดในการเพาะ

3. โรคราสนิมขาวในผัก (White Rust)

โรคราสนิมขาว ในผักเกิดจากเชื้อรา Albugo ipomoea-aquaticae Sawada
อาการ : มีจุดสีเหลืองซีดด้านบนของใบ ด้านใต้ใบตรงกันข้ามจะเป็นตุ่มนูนเล็กๆ ขนาด 1-2 มิลลิเมตร อาจพบลักษณะปุ่มปมหรือบวมพองโตขึ้นในส่วนของก้านใบและลำต้น
การป้องกันกำจัด
– ดูแลระบบการให้น้ำในแปลงปลูกอย่าให้ชื้นแฉะจนเกินไป
– หากเกิดโรคระบาดให้ฉีดพ่นใต้ใบด้วยเคมีเกษตร ตามที่แนะนำ หากมีฝนตกซุกให้ผสมสารจับใบ

4. โรคใบจุด (Alternaria leaf spot)

โรคใบจุดเกิดจากเชื้อรา Alternaia brassicae
ลักษณะอาการของโรค : ในต้นกล้าจะพบจุดแผลเล็กๆ สีน้ำตาลที่บริเวณใบ โคนต้น ต้นโตแล้วใบมีแผลวงกลมสีน้ำตาลช้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบๆ แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขอบแผลมีทั้งเล็กและใหญ่ บนแผลมักจะมีเชื้อราชั้นบางๆ เป็นผงสีดำ ผักบางชนิดและบางพันธุ์มีแผลที่ก้านใบเล็ก เป็นจุดสีน้ำตาลปนดำเนื้อเยื่อบุ๋มลงไปเล็กน้อย
การแพร่ระบาด : สปอร์ของเชื้อสาเหตุสามารถปลิวไปได้ไกลๆ โดยไปตามน้ำ ลม แมลง สัตว์ เครื่องงมือการเกษตร มนุษย์และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้หรืออาศัยอยู่กับวัชพืชในแปลง
สภาพอากาศที่เหมาะต่อการเกิดโรค : ความชื้นสูง สภาพอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะในฤดูฝนอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียล
การป้องกันกำจัดแบบอินทรีย์
– ทำลายต้นเป็นโรคโดยการขุดถอนไปเผาทิ้ง
– ปลูกพืชหมุนเวียนไม่ควรให้น้ำแบบฉีดพ่นฝอย

5. โรคเหี่ยว (wilt)

โรคเหี่ยวเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum
อาการ : เกิดอาการเหี่ยวอย่างช้าๆ ใบที่อยู่โคนต้นเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วง ต่อมาใบจะเหี่ยวทั้งต้น เมื่อผ่าลำต้นบริเวณเหนือระดับดินตามยาวจะพบว่าท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีน้ำตาล การผิดปกติของท่อน้ำท่ออาหารนี้จะลงไปถึงส่วนรากด้วย พริกที่เป็นโรคนี้ขั้นสุดท้ายจะแห้งตาย
การระบาด : การเกิดโรคนี้มักจะเกิดเป็นหย่อมๆ ถ้าสภาพอากาศมีอุณภูมิสูงและดินมีความชื้นสูง จะทำให้โรคนี้ระบาดได้ดี
การป้องกันกำจัดแบคทีเรีย :
– ถ้าพบโรคในแปลงต้องถอนต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย
– ก่อนปลูกพริกควรปรับสภาพดินด้วยปูนขาวและปุ๋ยคอก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *